ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จุดมุ่งหมายของการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัย พัฒนาการและคุณค่าของศิลปะ ความหมายแะความสำคัญของศิลปะสำหรับเด็ก ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย



 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช ๒๕๔๖ พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยแนวคิดต่อไปนี้
. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก  พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวมนุษย์
เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต ซึ่งครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงใน  เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จะมีความสัมพันธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนไปพร้อมกันทุกด้าน  เด็กแต่ละคนจะ  เติบโตและมีลักษณะพัฒนาการแตกต่างกันไปตามวัย โดยที่พัฒนาการเด็กปฐมวัยบ่งบอกถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัย
เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุ ๕ ปี

จุดมุ่งหมายของการศึกษาปฐมวัย

                                                 จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย     
          


การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างหลากหลายไปจากการศึกษาอื่นโดยมีรูปแบบและจุดหมายที่จัดแตกต่างไปตามสภาพความต้องการ นโยบายหรือหลักปรัชญาการศึกษาของแต่ละหน่วยงานที่จัด แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เน้นพัฒนาเด็กทุกๆด้าน (Whole childซึ่งการให้การศึกษาอบรมและเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้องเหมาะสมย่อมมีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง เพราะถ้าเด็กในวัยนี้ได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง เหมาะสมจะส่งผลดีและเป็นรากฐานต่อการพัฒนาและการศึกษาระดับอื่นด้วย  



การศึกษาปฐมวัย

                                                           ความหมายและความสำคัญ




ความหมายการศึกษาปฐมวัยหมายถึง

           การศึกษาปฐมวัยคือการจัดการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาการในเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง8ขวบหรือชั้นประถมศึกษาปีที่3การจัดการเด็กในที่นี้รวมถึงการจัดการศึกษาทางเป็นทางการ(formal group settings )และการจัดการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ(informal group  settings)เพราะการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยดั้งกล่าวถือเป็นรากฐานของการเรียนรู้ในอนาคตการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

พัฒนาการและคุณค่าของศิลปะ

                              พัฒนาการทางด้านศิลปะของเด็ก


     พีรพงษ์ กุลพิศาล (2531: 29 – 32) ได้กล่าวว่า พัฒนาการทางศิลปะเป็นกระบวนการแสดงออกทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะของเด็ก ซึ่งปรากฏอยู่ในวัยจากวัยหนึ่งสู่อีกวัยหนึ่งอย่างต่อเนื่องและพัฒนาการดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเข้าใจและความสามารถทางศิลปะ ประกอบกับสิ่งแวดล้อมและแรงจูงใจของแต่ละคน ดังจะเห็นได้จากพัฒนาการทางศิลปะของเด็กนั้น จะเริ่มต้นจากการเขียนภาพเป็นเส้นขยุกขยิก จนสามารถลากเส้นตรงได้ เพราะกล้ามเนื้อแขนและมือได้รับการควบคุมดีขึ้น                   ศรีเรือน แก้วกังวาน (2540: 232) ได้กล่าวถึงพัฒนาการทางศิลปะ เป็นพัฒนาการควบคู่ทั้งด้านความคิดและทักษะ พัฒนาการทางศิลปะของเด็ก มีความพิเศษกว่าของผู้ใหญ่ในเรื่องความสามารถทางกายด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว รวมทั้งความสามารถด้านสมองเชิงสร้างสรรค์ และแสดงออกทางจินตนาการ ซึ่งมีค่าต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจและความคิดเชิงบวก    
  

ความหมายและความสำคัญของศิลปะเด็ก

                                                   ความหมายและความสำคัญของศิลปะเด็ก


ความหมายของศิลปะเด็ก

   ศิลปะ เป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ ทัศนะของนัก ปราชญ์แต่ละคนรวมทั้งความเชื่อแนวคิด ในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีความแตกต่างกัน หรือแล้วแต่ว่า จะนำศิลปะไปใช้ ในแวดวงที่กว้างขวาง หรือจำกัดอย่างไร แต่จากทัศนะของนักปราชญ์ ทั้งหลายจะ เห็นว่าศิลปะมีคุณลักษณะ ที่เป็นตัวร่วม สำคัญที่สุด


ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย


เด็กในช่วงวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อ เนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

            การศึกษาไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เรา พยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมากขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์จึงต้องต่างกันไป